วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นการเรียนรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค


สถานที่ในการแสวงหาความรู้
  1.  แผนกเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  3. ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
วัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้
  1.           เพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหนะนำโรค
  2.       เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและให้ความสำคัญในการดูแลตนเองและคนใกล้ตัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก
  3.      เพื่อนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่แก่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก


เป้าหมายในการแบ่งปันความรู้
                คณะผู้จัดทำได้สร้างและแสวงหาความรู้จากหน่วยงานข้างต้นทั้ง 3 หน่วยงาน และนำความรู้ที่ได้มาผ่านกระบวนการการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ให้ความรู้ที่ได้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา โดยนำความรู้เหล่านั้นมาแบ่งปันให้กับสมาชิกในชุมชมของชุมชนดอนนารา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้เก็บข้อมูล
  • หน่วยงาน: เทคนิคในการป้องกัน การส่งเสริมและการพัฒนา
  • สมาชิกในชุมชน: สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน

รูปแบบในการเข้าถึงความรู้และการแบ่งปันความรู้
  •             หน่วยงาน: ใช้ Socialization ในรูปแบบของการสนทนา การระดมสมอง และการประชุมแบบไม่เป็นทางการ
  •        สมาชิกในชุมชน: ใช้ Socialization ในรูปแบบของการสนทนาและกระบวนการในการสังเกต และมีการใช้ Combination ในรูปแบบของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์

การประเมินผลความสำเร็จในการจัดการความรู้

รูปแบบในการประเมินผล


สิ่งที่ใช้ในการประเมินผล/
เทคนิคในการจัดการความรู้


ข้อมูลที่ได้รับ

การประเมินผล
1.              การประเมินผลก่อนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การประเมินสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน โดยการสังเกตและการสอบถามข้อมูลจากสมาชิกในชุมชน
พบว่า ชาวบ้านยังขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก และยังพบว่าในบริเวณห้องน้ำ หรือบริเวณที่มีน้ำขังอยู่ยังมีลูกน้ำยุงลายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
1)            สมาชิกในชุมชนขาดความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2)            สมาชิกในชุมชนยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
3)            สภาพแวดล้อมในชุมชนเอื้อต่อการเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย
2.              การประเมินผลระหว่างการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเมินผลจากพฤติกรรมในการเรียนรู้และการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ โดยใช้เทคนิคในการพูดคุยและใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พบว่า สมาชิกในชุมชนในแต่ละครัวเรือนต่างก็ให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออกเป็นอย่างมาก เนื่องจากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกภายในชุมชน
1)            ชาวบ้านตื่นตัวและให้ความสนใจในการป้องกันโรค
2)            ชาวบ้านตั้งใจและรับฟังการให้คำแนะนำที่ถูกต้องอยู่สม่ำเสมอ
3.              การประเมินผลหลังจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ใช้การประเมินผลจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ความรู้ที่ได้รับของคนในชุมชน ความคุ้มค่า และความพึงพอใจของคนในชุมชน
พบว่า การดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น แต่อาจมีอุปสรรคบ้างในบางครั้ง แต่ทางกลุ่มก็ได้มีการระดมสมอง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขในเบื้องต้น
1)            ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2)            คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นกว่าเดิม
3)            การใช้ภูมิปัญญาไทย(ปูนแดง)เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้


ภาพบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันการเรียนรู้

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปูนจ๋า...ยุงลาก่อน


       

           วีดีโอนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอนวิชา การจัดการความรู้ (262221) ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนิสิต     ชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการบริการสังคม ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ที่ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

          จากสถานการณ์เริ่มต้นฤดูกาลพบลูกน้ำยุงลายระบาดหนัก หลายคนอาจมองหาวิธีการแก้ไขและป้องกัน บางแห่งอาจต้องใช้สารเคมีพ่นเพื่อไล่ฆ่าลูกน้ำยุงลาย แต่การกระทำเช่นนั้นอาจเสี่ยงต่ออันตรายกับชีวิต มีตัวอย่างจากหมู่บ้านหนึ่งที่สามารถจำกัดลูกน้ำยุงลายได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี แต่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง

          ก้อนสีแดงลูกกลมถูกหย่อนลงน้ำ ซึ่งก้อนเหล่านี้มีคุณสมบัติในการกำจัดลูกน้ำยุงลายแทนทรายอะเบท ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็นและทำให้เกิดตุ่มคันกับผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงนำมาซึ่งภูมิปัญญาดังเดิมที่ถูกลับเลือนจนเกือบหายไป ถูกนำมาใช้อีกครั้งในการแก้ปัญหาโดยการใช้ปูนแดงกำจัดลูกน้ำยุงลายแทน

          ปูนแดงและน้ำขิงเป็นภูมิปัญญาไทยที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ เนื่องจากปูนแดงมีฤทธิ์เป็นกรดและขิงมีความเผ็ดร้อน เมื่อทั้งสองสิ่งทำปฏิกิริยากันจะเกิดฝ้าขึ้นจนทำให้ลูกน้ำยุงลายไม่สามารถหายใจได้และตายในที่สุด เพราะลูกน้ำยุงลายไม่ถูกกับความเผ็ดร้อนของส่วนผสมดังกล่าว

        “ปูนแดงอาจเป็นคำตอบอีกคำตอบหนึ่งในการแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปในตัวอีกด้วย


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รวมรูปภาพการศึกษาการจัดการความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออกในแต่ละหน่วยงาน

แผนกเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
 ภาพที่ 1 : การเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

ภาพที่ 2 : การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์และให้ความรู้กับน้องๆโรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ 
ฝ่ายปฐมวัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาพที่ 3 : การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์และให้ความรู้กับน้องๆโรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ 
ฝ่ายปฐมวัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาพที่ 4 : การเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้กับน้องๆศูนย์เด็กเล็ก
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาพที่ 5 : การศึกษากรณีตัวอย่างจากผู้่วยไข้เลือดออกภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา



โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ภาพที่ 6 : การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคไขเลือดออกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ภาพที่ 7 : การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคไขเลือดออกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ภาพที่ 8 : การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคไขเลือดออกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี



ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ภาพที่ 9 : การเข้ารับฟังบรรยายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ภาพที่ 10 : การเข้ารับฟังบรรยายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ภาพที่ 11 : การเข้ารับฟังบรรยายเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี



แนะนำความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออกสู่ชุมชนดอนนารา จังหวัดชลบุรี
ภาพที่ 12 : นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้สู่ชุมชนดอนนารา

ภาพที่ 13 : นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้สู่ชุมชนดอนนารา

ภาพที่ 14 : นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้สู่ชุมชนดอนนารา

ภาพที่ 15 : นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้สู่ชุมชนดอนนารา




ยุงลายสัตว์ร้ายกับโรคภัยใกล้ตัว

      จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่หน่วยงานรับผิดชอบ ปี 2556 จากประชากร 30,421คน พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 4 คน ปี 2555 จากประชากร 28,747คน พบว่ามีผู้โรคไข้เลือดออก 16คน จะมีอาการที่แสดงออก คือ ไข้ขึ้นสูงเป็นระยะเวลา 2-3วัน อาเจียน ไม่อยากอาหาร ทางโรงพยาบาลจะทำการทดสอบโดยทูร์นิเก้เทส โดยใช้สายยางหรือเครื่องวัดความดันโลหิตพันรองท่อนแขนในส่วนบน เพื่อหาจุดแดงบนแขนหากพบว่ามี 10จุด ต่อวงเหรียญบาท แสดงว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้เลือดออก หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อพิจารณาการรักษา โดยแผนกเวชศาสตร์ชุมชน หรือ กองสาธารณสุขของโรงพยาบาลจะเป็นหน่วยงานที่ทำการติดต่อผล สอบถามข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วย เช่น ลักษณะที่พักอาศัยของผู้ป่วย การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัด ระยะเวลาที่เป็นไข้ และบุคคลที่ใกล้ชิดสนิทสนม ทางโรงพยาบาลจะให้ผู้ป่วยเข้าพักรักษาตัวเป็นระยะเวลา7วัน เพื่อเฝ้าระวังระยะช็อกของโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เลือดออกสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด

1. ไข้เดนกี่ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ลอยเมื่อกินยาพาราไข้จะลดลงในระยะเวลา4ชั่วโมงและจะกลับมามีอาการไข้ขึ้นสูงอีก โดยภาวะนี้ไม่มีอาการที่ส่งผลกระทบต่อตับและไต
2. แบบเต็มขั้น (DSF) ผู้ป่วยจะมีอาการตับโตโดยสังเกตจากผิวหนังคนไข้จะมีจุดแดงขึ้นตามผิวหนัง สามารถเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตก จึงจำให้เกิดจุดแดงทั่วร่างกาย โดยมีวิธีการรักษา คือ ต้องตรวจค่าตับและไตของการทำงานว่ามีความผิดปกติหรือไม่
3. แบบ DSS คือไข้เลือดออกระยะช็อกเป็นระยะที่อันตรายที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการความดันต่ำ จะมีอาการไหลออกของน้ำ เช่น อาเจียน ท้องเสีย คนไข้บางรายที่มีประจำเดือน จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยรายอื่น แพทย์ที่ทำการรักษาต้องให้คนไข้ทานยาหยุดทันที

                จากการสำรวจในประเทศไทยเมื่อปี พ.. 2556 - 2557 พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 12-15 ปี และกลุ่มคนอ้วนจะมีออกการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกมากที่สุด




 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยุง

                ยุงมีการเจริญเติบโตในเขตร้อน ซึ่งมีวงจรชีวิต 7 วันในการเจริญเติบโต โดยเริ่มจาก ระยะการวางไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยยุงที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่ มี 4 ชนิด 1. ยุงลาย 2.ยุงรำคาญ 3. ยุงก้นป่อง และ 4. ยุงลายเสือ




ลักษณะทั่วไปของยุง
                ยุงตัวเมียจะมีปากไว้สำหรับดูดเลือด และยุงตัวผู้จะใช้ปากในการดูดน้ำหวาน โดยยุงตัวเมียจะใช้ปากแทงผ่านชั้นผิวหนัง จากนั้นจะทำการปล่อยน้ำลายที่มีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเพื่อช่วยในการดูดเลือดได้ง่ายขึ้น ยุงตัวเมียจะผสมพันธ์เพียงครั้งเดียวแต่สามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิต โดยประมาณครั้งละ 40-100ฟอง การออกหากินของยุงลาย มักเกิดในระยะเวลากลางวัน มุมมืดภายในบ้านและยุงลายสวนจะอาศัยตามสวนหย่อมที่มีน้ำขัง ซึ่งในฤดูฝนยุงจะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เพราะอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมแต่การแพร่พันธ์ุ


ลักษณะการวางไข่ของยุงลาย
                 ยุงลายจะชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง ลักษณะน้ำนิ่งที่มีน้ำใส โดยมีวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3แบบ คือ                   1. ทางกายภาพ คือ การปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด 2. เปลี่ยนน้ำทุกวัน 3.คว่ำภาชนะที่สามารถเป็นแหล่งน้ำขัง 4. ขัดภาชนะให้สะอาด
                2.ทางชีวภาพ คือ การใช้ธรรมชาติกำจัดในตัวของมันเอง เช่น การใช้ปลาหางนกยูง ปลาสอดเป็นตัวกำจัดลูกน้ำยุงลาย
                3. ทางเคมี คือ ใช้ทรายอเบทในการกำจัดลูกน้ำ การใช้เกลือแกง การใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโต
                ในการพ่นสารยับยั้งการเจริญเติบโต ทางสาธารณสุขจะทำการประสานงานกับศูนย์ควบคุมนำโดยแมลงทำการพ่นหมอกควัน และการพ่นแบบฝอยละอองที่มีความเข้มข้นสูงทำการผสมในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ โดยอาศัยแรงลมเป็นตัวกระจายสารแต่วิธีการดังกล่าวนี้มีอันตรายต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการแสบจมูก เกิดอาการคัน ระคายเคือง จากสารเคมีในการป้องกันลูกน้ำหรือยุงลาย
                ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลที่มีวิธีการป้องกันลูกน้ำ ยุงลายแบบใหม่ ที่มีความประหยัด ปลอดภัย และสามารถใช้ได้กับทุกครัวเรือน คือการนำปูนแดงหรือปูนกินหมากมาผสมกับน้ำขิง โดยใช้ปูนแดง 4 กิโลกรัมผสมกับน้ำขิง 5ขีด และคลุกเคล้าให้เท่ากัน ปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกปิงปอง ตากแดดทิ้งไว้ 3วันจนแห้ง จากนั้นสามารถนำไปใช้งานได้ทันที

อัตราการใช้ปูนแดงกำจัดลูกน้ำยุงลาย

                ปั้นปูนแดงเท่าลูกปิงปองหนึ่งก้อน ใส่ในโอ่งมังกรหนึ่งใบ หากโอ่งมีขนาดใหญ่สามารถใส่ได้ 4-5 ก้อน โดยระยะเวลาการใช้งาน 2-3 เดือน ข้อดีของการใช้ปูนแดง สามารถนำมาใช้ดื่มและอาบน้ำได้
                จากผลการทดลอง เมื่อใช้ปูนแดงในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย สามารถช่วยลดปริมาณยุงได้จริง คนในชุมชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับวิธีการกำจัดโดยการใช้ปูนแดง เพราะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีราคาถูก และหาซื้ออุปกรณ์ที่สามารถทำเองได้ภายในครัวเรือน และไม่ส่งกลิ่นเหม็นเหมือนทรายอเบท อีกทั้งไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและลดการระคายเคืองทางผิวหนังอีกด้วย