วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นการเรียนรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค


สถานที่ในการแสวงหาความรู้
  1.  แผนกเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  3. ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
วัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้
  1.           เพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหนะนำโรค
  2.       เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและให้ความสำคัญในการดูแลตนเองและคนใกล้ตัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก
  3.      เพื่อนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่แก่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก


เป้าหมายในการแบ่งปันความรู้
                คณะผู้จัดทำได้สร้างและแสวงหาความรู้จากหน่วยงานข้างต้นทั้ง 3 หน่วยงาน และนำความรู้ที่ได้มาผ่านกระบวนการการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ให้ความรู้ที่ได้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา โดยนำความรู้เหล่านั้นมาแบ่งปันให้กับสมาชิกในชุมชมของชุมชนดอนนารา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้เก็บข้อมูล
  • หน่วยงาน: เทคนิคในการป้องกัน การส่งเสริมและการพัฒนา
  • สมาชิกในชุมชน: สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน

รูปแบบในการเข้าถึงความรู้และการแบ่งปันความรู้
  •             หน่วยงาน: ใช้ Socialization ในรูปแบบของการสนทนา การระดมสมอง และการประชุมแบบไม่เป็นทางการ
  •        สมาชิกในชุมชน: ใช้ Socialization ในรูปแบบของการสนทนาและกระบวนการในการสังเกต และมีการใช้ Combination ในรูปแบบของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์

การประเมินผลความสำเร็จในการจัดการความรู้

รูปแบบในการประเมินผล


สิ่งที่ใช้ในการประเมินผล/
เทคนิคในการจัดการความรู้


ข้อมูลที่ได้รับ

การประเมินผล
1.              การประเมินผลก่อนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การประเมินสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน โดยการสังเกตและการสอบถามข้อมูลจากสมาชิกในชุมชน
พบว่า ชาวบ้านยังขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก และยังพบว่าในบริเวณห้องน้ำ หรือบริเวณที่มีน้ำขังอยู่ยังมีลูกน้ำยุงลายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
1)            สมาชิกในชุมชนขาดความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2)            สมาชิกในชุมชนยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
3)            สภาพแวดล้อมในชุมชนเอื้อต่อการเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย
2.              การประเมินผลระหว่างการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเมินผลจากพฤติกรรมในการเรียนรู้และการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ โดยใช้เทคนิคในการพูดคุยและใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พบว่า สมาชิกในชุมชนในแต่ละครัวเรือนต่างก็ให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออกเป็นอย่างมาก เนื่องจากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกภายในชุมชน
1)            ชาวบ้านตื่นตัวและให้ความสนใจในการป้องกันโรค
2)            ชาวบ้านตั้งใจและรับฟังการให้คำแนะนำที่ถูกต้องอยู่สม่ำเสมอ
3.              การประเมินผลหลังจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ใช้การประเมินผลจากการกำหนดวัตถุประสงค์ ความรู้ที่ได้รับของคนในชุมชน ความคุ้มค่า และความพึงพอใจของคนในชุมชน
พบว่า การดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น แต่อาจมีอุปสรรคบ้างในบางครั้ง แต่ทางกลุ่มก็ได้มีการระดมสมอง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขในเบื้องต้น
1)            ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2)            คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นกว่าเดิม
3)            การใช้ภูมิปัญญาไทย(ปูนแดง)เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้


ภาพบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น